Element Locator ที่ใช้ในการทดสอบ Automate Mobile

·

·

ในการเขียนโปรแกรมเพื่อทำการทดสอบระบบของแอพพลิเคชั่น จำเป็นต้องใช้ตัวระบุตำแหน่งขององค์ประกอบต่าง ๆ ในการนำเอาไปใช้กับ keyword ใด ๆ หรือพูดง่าย ๆ ว่า เป็นการระบุว่าปุ่มไหนชื่ออะไร หรือว่าตำแหน่งนี้ ถูกเรียกว่าอย่างไรเพื่อเอาชื่อของตำแหน่งนั้น ๆ ไปใช้เพื่อเขียนโปรแกรมในการทดสอบได้อย่างถุกต้อง โดยประเภทของ Locator แต่ละแบบนั้น จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปถ้าเราใช้ locator ผิดประเภทผลการทดสอบที่ออกมาจากจะผิดพลาดก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะทดสอบการกดปุ่ม แต่เรากำหนดให้ไปใช้ xpath ของปุ่มนั้น ผลการทดสอบที่ออกมาจะไม่มีความเสถียร เนื่องจากอาจจะมีการเปลี่ยนตำแหน่งของ Xpath ได้

“การรู้วิธีใช้ locator ต่างๆ อย่างถูกต้องจะทำให้ในการสร้างสคริปต์การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากสคริปต์ทดสอบไม่สามารถระบุ locator ที่ชัดเจนได้ การทำงาน

โดย Locator พื้นฐานที่ใช้ในการทดสอบ Mobile application ด้วย appium ที่จะพูดถึงในวันนี้จะมีหลัก ๆ  4 ชนิด ดังนี้

  • ID
  • Accessibility ID 
  • Class Name
  • XPath

ID

เป็นการระบุตำแหน่งนั้นไว้เป็น ID ทำให้ locator ในแอพพลิเคชั่นนั้นจะไม่มี ID ซ้ำกับตัวอื่น ส่งผลให้การทดสอบด้วย ID จะมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก

Accessibility ID

เป็นการระบุตำแหน่งที่ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำการทดสอบ Android และ iOS เนื่องจาก สามารถใช้ Accessibility ID สำหรับการทำงานอัตโนมัติข้ามแพลตฟอร์มได้

Class Name

ในหลายตำแหน่งอาจจะมีการใช้ชื่อ Class เดียวกัน ส่งผลให้อาจเกิดปัญหาระหว่างทดสอบได้

XPath

เป็นตัวระบุตำแหน่งที่ไม่แนะนำให้ใช้มากที่สุด เนื่องจากเป็นตัวระบุตำแหน่งที่ทำงานช้า มีปัญหาด้านความเสถียรและประสิทธิภาพ (อ้างอิงจาก http://appium.io/docs/en/commands/element/find-elements/index.html#selector-strategies ) XPath ควรใช้เฉพาะเมื่อไม่มี ID ชื่อ หรือ Accessibility ID เท่านั้น

ถ้าแอพพลิเคชั่นที่นำมา มีการใช้ ID หรือ Accessibility ID ร่วมกับ Xpath หรือ Class แนะนำให้ใช้ ID หรือ Accessibility ID มากกว่าเนื่องจากจะช่วยลดระยะเวลาในการหา locator ทำให้ประสิทธิภาพในการทดสอบเพิ่มขึ้น

Back to top arrow