แชร์ประสบการณ์ งาน QA สายงานผลิตในระบบอุตสาหกรรมโรงงาน และ QA Tester ในสายเทค ต่างกันยังไง ?

แชร์ประสบการณ์ งาน QA สายงานผลิตในระบบอุตสาหกรรมโรงงาน และ QA Tester ในสายเทค ต่างกันยังไง ?

  1. การวางแผนงานในแต่ละวัน 💡

QA ฝ่ายผลิต จะไม่ได้รู้ก่อนว่าในแต่ละวันจะได้ทดสอบงานตัวไหนและมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากงาน QA ในสายการผลิตจะรับงานต่อจากฝ่ายผลิตมาอีกที ปริมาณงานมากน้อย ขึ้นอยู่กับฝ่ายผลิตที่ทำได้และส่งมาให้เราตรวจสอบในแต่ละวัน ทำให้ไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ แต่ QA Tester จะต้องรู้แผนงานล่วงหน้า เพื่อให้รู้ระยะเวลาในการทำงานและประเมินได้ว่าจะแล้วเสร็จตอนไหน ซึ่งการทำงานของเราจะแบ่งออกเป็น Sprint ใน 1 Sprint จะมี 2 สัปดาห์ และแต่ละสัปดาห์จะถูกหั่นแบ่งไว้แล้วว่าแต่ละวันจะต้องทำอะไร ใช้กี่ Man Hour การทำงานแบบนี้มีข้อดีคือเราวางแผนล่วงหน้าได้ แต่ก็มีความกดดัน คือ เมื่องานมีปัญหาหรือมีงานด่วนมาแทรก เราต้องบริหารเวลาให้ดี เพื่อให้งานไม่ล้นไปวันอื่นมากที่สุด เพราะไม่งั้นงานก็จะล่าช้าออกไปอีก

  1. เมื่อเจองาน NG หรือบัค จะทำยังไง 👾❓
QA ฝ่ายผลิตจะทำหน้าที่ตรวจสอบงานต่อจากฝ่ายผลิต เมื่อเจองานที่ไม่ตรงตามสเปกหรืองาน NG จะมีการเขียนรายงาน ส่วนใหญ่จะเป็นเอกสารที่เป็นกระดาษเพื่อแจ้งไปยังฝ่ายผลิต ซึ่งบ่อยครั้งไม่ได้มีความจำเป็นต้องตามงานต่อว่าฝ่ายผลิตไปจัดการต่อยังไง หรือบางงานที่เป็น Product ที่แก้ไขไม่ได้ ก็ทิ้ง Product ตัวนั้น ๆ ไปเลย ส่วนกระบวนการตรวจสอบความผิดพลาดหรือการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ จะเป็นระดับหัวหน้าระดับสูงขึ้นไป แต่ QA Tester หากตรวจเจอจุดที่ไม่ตรงสเปกจะกลายเป็นบัค ซึ่งจะมีการรายงานบัคไปที่ Dev โดยผ่านการใช้เครื่องมือสื่อสารและบันทึกบัคในแต่ละเคสเอาไว้ และเมื่อรายงานบัคเสร็จหาก Dev ไม่เข้าใจและต้องการให้เรา Reproduce เราก็ต้องชี้จุดที่บัคให้ Dev เข้าใจให้ได้ ดังนั้นเราจึงต้องแม่นสเปกเพื่อให้เขาแก้ไขมาได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ เมื่อ Dev แก้บัคมาแล้ว เราต้องทำการเทสต่อวนไปจนกว่าบัคนั้นจะถูกแก้ไขให้ถูกต้องตามสเปก ซึ่งต้องใช้ทั้งทักษะในการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร
  1. ขอบเขตความรับผิดชอบงาน ⚙️💯
QA ฝ่ายผลิต ไม่ได้มีหน้าที่ในการคิดคำนึงถึงการใช้งานของ user เนื่องจากขั้นตอนนี้จะเป็น R&D ที่มีการคิดไว้แล้ว ซึ่งในการทำงานจะตรวจสอบแค่ Material หรือ Product ให้ตรงตามสเปกหรือถูกต้องตามมาตรฐานเท่านั้น แตกต่างกับ QA Tester ที่จะต้องมีการคิดคำนึงถึงสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยการจำลองตัวเองเป็น user ที่เข้าใช้งานและคิด use case ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด เพื่อทำการทดสอบอย่างครอบคลุม
ปล. ในส่วนนี้เป็นเพียงประสบการณ์ส่วนตัวเท่านั้นนะคะ แต่ละคนหรือแต่ละองค์กรอาจจะมีหน้าที่หรือมีขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างกันออกไปค่ะ

Most Recent Posts

43 Thai CC Tower, 23rd Floor, Room 234,
South Sathorn Rd., Yannawa, Sathorn, Bangkok 10120

Email : qsquad.qa@gmail.com